สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทำการศึกษาความสามารถของผู้ปกครองในการกำกับดูแลการใช้สื่อ และพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กอายุระหว่าง 0-13 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 200 ครอบครัว ในเขตนครปฐม จากโครงการวิจัย “โครงการผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ในศตวรรษที่ 21” ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2563 ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กอายุ 0-2 ปี อายุ 3-5 ปี และอายุ 6-13 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม อำเภอพุทธมณฑล ตำบลศาลายา และความรู้ความสามารถของผู้ปกครองในการกำกับดูแลการใช้สื่อของเด็ก รวมทั้งสิ้น 201 ครอบค
การศึกษานี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะสุขภาพและความยากจนขาดแคลน โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ ได้รับการชี้เป้าโดยชุมชนเองตามความรับรู้สภาพความยากจนขาดแคลนของชุมชน จากพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ และนครปฐม รวม 458 คน ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ของความยากจนรายได้ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน ความขาดแคลนพหุปัจจัย 4 มิติ หรือ มากกว่าในทั้งหมด 9 มิติ ภาวะวิกฤตครอบครัว 2 ข้อหรือมากกว่า ใน 5 ข้อ มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงดูที่ไม่บรรลุผลสุขภาวะ 2 ข้อหรือมากกว่า โดยความยากจนรายได้ที่น้อยกว่า 3,000 บาทเพิ่มความเสี่ยง 2.4 เท่า ความขาดแคลนพหุปัจจัย 4 หรือมากกว่าเพิ่มความเสี่ยง 1.8 เท่า และภาวะวิกฤตครอบครัว 2 หรือมากกว่า เพิ่มความเสี่ยง 2.6 เท่า
การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลทักษะสมองการคิดเชิงบริหาร EF ในเด็กที่ได้รับการส่งเสริมโดยครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตพื้นที่ประกาศของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ใน 17 โรงเรียน จำนวน 514 คน